นวัตกรรมหลังยุคโควิดต้องไม่ลืมเรื่องความยั่งยืน

ในขณะที่โลกเข้าใกล้สิ่งที่น่าจะเรียกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ธุรกิจต่างๆ กำลังพูดถึง “นวัตกรรมที่จะทำให้ผ่านพ้นวิกฤต” โดยการทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิดมากขึ้น แต่นวัตกรรมหมายความว่าอะไรในช่วงวิกฤตนี้ และอะไรคือสิ่งที่ควรทำเพื่อให้เกิดนวัตกรรมเหล่านั้นขึ้นมา

 

ในระหว่างการประชุมโต๊ะกลมกับทีมจัดซื้อของอุตสาหกรรมจากหลากหลายกลุ่ม ผู้เข้าร่วมยืนยันว่าในขณะที่นวัตกรรมช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัว และเติบโตนั้นจะต้องไม่ละเลยในเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และมาตรฐานของการกำกับดูแลกิจการ แม้ว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาไวรัสโคโรน่าได้เข้ามาเป็นเรื่องราววิกฤต แต่การร่วมมือกับซัพพลายเออร์ในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคยังคงต้องสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ธุรกิจต่างๆ ต้องทำ ไม่เช่นจะทำให้เป้าหมายเหล่านั้นมีความเสี่ยงและอาจเป็นภัยคุกคามการเติบโตของธุรกิจเหล่านั้นในอนาคตได้

 

ซึ่งการทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นไปแบบมีโครงสร้าง  ต้องมีการกำหนดเป้าหมายและกระบวนการเพื่อให้มั่นใจว่านวัตกรรมและความยั่งยืนจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ และไม่แยกออกจากกัน มี 3 การเรียนรู้หลักที่องค์กรต่างๆ ซึ่งได้เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมร่วมแบ่งปันกันเพื่อให้บรรลุถึงสิ่งนี้ได้แก่

 

  1. พัฒนานวัตกรรมและกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน

สำหรับนวัตกรรมและความยั่งยืนด้านการจัดซื้อต้องทำงานคู่ขนานกันไป พวกเขาจะต้องกำหนดกลยุทธ์โดยรวมร่วมกัน การทำงานกันไปคนละทิศละทางมักส่งผลให้เกิดโครงการนวัตกรรมที่ไม่ได้มีส่วนช่วย หรืออาจบ่อนทำลายเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมหรือสังคมที่องค์กรกำลังดำเนินการอยู่ได้

 

มีสองวิธีที่ใช้ร่วมกันสำหรับการจัดโครงสร้างการจัดซื้อ สำหรับองค์การแห่งหนึ่งได้จัดตั้งทีมขึ้นในฝ่ายจัดซื้อเพื่อร่วมกันรับผิดชอบด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนของซัพพลายเออร์ โดยมีการลดคาร์บอน การจัดการน้ำ และการลดของเสีย โดยมุ่งเน้นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ ทีมพัฒนากลยุทธ์นวัตกรรมที่ยั่งยืนและนำไปใช้กับการจัดหาทุกประเภท ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าโครงการร่วมมือใดๆ ของซัพพลายเออร์จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

อีกองค์กรหนึ่ง ใช้วิธีแยกหน้าที่จัดซื้อออกมาต่างหากสำหรับทั้งนวัตกรรมและความยั่งยืน แต่ให้ทั้งสองทีมกำหนดกลยุทธ์และทำงานร่วมกัน ทั้งสองทีมจะติดต่อกันเพื่อประเมินโครงการความร่วมมือของซัพพลายเออร์ที่เข้ามา ตัวอย่างเช่น ผลกระทบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโครงการนวัตกรรมก่อนที่จะได้รับอนุมัติ ด้วยวิธีนี้จะทำให้งานด้านนวัตกรรมของซัพพลายเออร์ไม่ไปขัดแย้งกับกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

  1. กำหนดเกณฑ์ที่ยั่งยืนสำหรับโครงการนวัตกรรมของซัพพลายเออร์

เช่นเดียวกับการมีกลยุทธ์เกี่ยวกับนวัตกรรมและความยั่งยืนร่วมกัน ทีมควรสร้างเกณฑ์เฉพาะสำหรับวิธีประเมินความคิดและข้อเสนอของซัพพลายเออร์ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาสนับสนุนเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการของธุรกิจ

 

สำหรับบริษัทหนึ่ง  ทีมจะคัดสรรแนวคิดนวัตกรรมเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม  หากแนวคิดดังกล่าวช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมของธุรกิจต่อไป ก็จะได้รับการอนุมัติให้เกิดการทำงานร่วมกันและอาจได้รับเงินทุนเพิ่มเติม

 

ในองค์กรอื่นๆ ก็มีโครงสร้างที่คล้ายกันนี้อยู่ในทีม โดยเฉพาะโครงการด้านการลงทุน หากโครงการของซัพพลายเออร์มีส่วนช่วยสร้างนวัตกรรมที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนก็จะได้รับการอนุมัติเงินทุนสนับสนุน พวกเขากล่าวว่านี่เป็นเพราะองค์กรมองเห็นห่วงโซ่อุปทานในฐานะของ “ผู้สร้างความแตกต่างในการแข่งขัน” ลดลง ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าความยั่งยืนมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการเติบโตของธุรกิจได้อย่างไร

 

  1. แบ่งซัพพลายเออร์ตามนวัตกรรมและความยั่งยืน

ในขณะที่ซัพพลายเออร์บางรายจะเข้ามาขายแนวคิดในการทำงานร่วมกันให้กับองค์กร แต่ยังต้องดูแลฝ่ายจัดซื้อให้มีส่วนร่วมในฐานการจัดหาเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและความยั่งยืนที่ดีขึ้น ซึ่งต้องมีการแบ่งกลุ่ม

 

แต่ละองค์กรมีเกณฑ์ที่ใช้ในกระบวนการแบ่งกลุ่มนี้แตกต่างกันไป ปัจจัยสำคัญในผลกระทบของซัพพลายเออร์ในด้านความยั่งยืนที่แตกต่างกัน เช่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และการดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรม ซึ่งโดยทั่วไปจะได้รับจากการตรวจสอบบุคคลที่สาม และถูกรวมเข้ากับเกณฑ์ด้านนวัตกรรม ซึ่งอาจรวมถึงขั้นตอนการบริการของซัพพลายเออร์ บันทึกเกี่ยวกับการเปิดตัวใหม่ และความสำคัญเชิงกลยุทธ์ต่อองค์กร จากนั้นทีมจัดซื้อใช้ข้อมูลนี้เพื่อระบุซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงานร่วมกัน

 

ธุรกิจเข้าใจดีว่านวัตกรรมซัพพลายเออร์มีความสำคัญสำหรับการเติบโตและความยั่งยืนขององค์กรที่ดีขึ้นได้อย่างไร ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องวางโครงสร้างต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นเพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งสองส่วนถูกแยกออกจากกัน บริษัทแห่งหนึ่งระบุว่า “ การปรับปรุงความยั่งยืนของซัพพลายเชนโดยการสร้างนวัตกรรมร่วมกับซัพพลายเออร์ของเรานั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรของเรา  และเราต้องจัดระเบียบวิธีการทำงานของเราเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะก้าวหน้าต่อไป”