3 วิธีในการรับมือความขัดแย้งในการจัดซื้อของศตวรรษที่ 21

ความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นระหว่างเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและความต้องการด้านการจัดซื้อที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่การลดทอนประสิทธิภาพและหยุดยั้งนวัตกรรม

การดำเนินงานด้านการจัดซื้อกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตราย  ผลการศึกษาของแฮ็กเกตต์กรุ๊ปที่ถูกเปิดเผยเมื่อช่วงต้นปีนี้พบว่างบประมาณด้านการจัดซื้อกำลังลดลง ในขณะที่รายได้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ก่อให้เกิดความท้าทายในการเติมเต็มช่องว่างระหว่างแรงกดดันด้านการผลิตที่เพิ่มขึ้นของผู้บริหา ร ผู้จัดการหน่วยงาน และผู้ซื้อในโรงงาน การลดการลงทุนในเครื่องมือ เทคโนโลยี และทรัพยากรที่ผู้ใช้งานในหน่วยงานเหล่านี้สามารถนำไปใช้เพื่อทำให้ธุรกิจเติบโต

ความไม่เท่าเทียมกันที่เพิ่มขึ้นระหว่างเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้นจะนำไปสู่การลดทอนประสิทธิภาพและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมในอนาคต

ไม่แปลกใจเลยที่ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นช่องว่างที่ห่างขึ้นระหว่างโรงงานกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่กระจายไปทั่วโลก ความต้องการด้านการจัดส่งและการปรับแต่งของลูกค้าที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนฐานข้อมูลขนาดมหึมาที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงการวิเคราะห์ และเสริมสร้างความคล่องตัวในการดำเนินงานด้านการจัดซื้อ  แต่ในขณะที่การวิเคราะห์และการปฏิบัติงานที่ได้รับการปรับปรุงเหล่านี้ได้ช่วยในมีการจัดระเบียบข้อมูล แต่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรมากนักในส่วนของคนที่ซื้อ ขาย และจัดการสินค้าคงคลังในโรงงานทุกวัน ความจริงก็คือ พวกเขายังคงใช้ปืนใหญ่ยุคสงครามกลางเมืองเพื่อต่อสู้กับสงครามในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเต็มไปด้วยการใช้งานที่อืดอาด เชื่องช้า และยุ่งยากไม่สามารถกำหนดระยะ โฟกัส และผลกระทบต่อเป้าหมายได้

ต่อไปนี้เป็น 3 วิธีการที่ผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการทำให้ทีมงานของโรงงานมีเครื่องมือขั้นสูงแต่คุ้มค่าสำหรับการรับมือกับการจัดซื้อที่ไร้ประสิทธิภาพในปัจจุบัน

  1. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามปกติโดยอัตโนมัติเพื่อให้มีเวลาสำหรับทำงานเชิงกลยุทธ์มากขึ้น

ตลอด 25 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทาน โดยเริ่มต้นแบบเดียวกับอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เช่น การรวบรวม และการสร้างภาพข้อมูลจำนวนมหาศาลในโลก ปัจจุบัน AI ได้รับการพัฒนาเพื่อทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลและการหาสาเหตุของปัญหาได้โดยอัตโนมัติ

มีข้อมูลเกิดขึ้นในหลากหลายสถานที่มากเกินกว่าที่ผู้ซื้อและผู้บริหารจะสามารถรวิเคราะห์ด้วยตนเองได้ การที่พวกเขาจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเพื่อลดเวลาในการทำสิ่งเหล่านี้ให้น้อยลง เราได้ทำงานกับลูกค้าที่ผู้ซื้อใช้เวลา 10 ถึง 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการวิเคราะห์และสร้างสเปรดชีตเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากได้เวลาดังกล่าวกลับคืนมา ผู้ซื้อสามารถค้นพบความผิดปกติของข้อมูล มุ่งเน้นไปที่คำสั่งซื้อ และปรับระดับความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์และสามารถกลับไปทานอาหารเย็นได้ทัน

  1. ใช้เครื่องมือ AI ช่วยผู้ซื้อจัดลำดับความสำคัญในการทำงานของพวกเขา

สำหรับผู้ซื้อในโรงงาน กระแสงานประจำวันอาจดูคล้ายกับเกม “Choose Your Own Adventure” เมื่อข้อมูลจำนวนมหาศาลถูกนำเสนอ – ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเพียงข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้การทำงานได้ไม่ดี ผู้ซื้อจะต้องตัดสินใจว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหนและหวังว่าจะนำพวกเขาไปในทิศทางที่ถูกต้อง  และ ถ้าหากเครื่องมือที่พวกเขาได้มาไม่ได้ทำเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการวิเคราะห์ข้อมูล

มันไม่เหมือนกับการถูกส่งเข้าไปปิดตาแข่งขันชิงแชมป์หมากรุกที่ให้เดินหมากเพียง 5 ตาเพื่อเอาชนะ  ซึ่งไม่มีทางสำเร็จได้ เช่นเดียวกับผู้ซื้อในโรงงานทุกวันนี้

เทคโนโลยี AI ในยุคปัจจุบันได้ก้าวเข้ามาสร้างโลกที่ฝ่ายจัดซื้อสามารถจัดลำดับความสำคัญและนำเสนอสิ่งที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ  ตัวอย่างเช่นสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดส่งให้ผู้ซื้อแต่เช้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายตามที่ได้คาดการณ์ไว้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจากการใช้กลยุทธ์นี้ ลูกค้าสามารถประหยัดเอาเวลาที่ได้จากการทำรายงานหลายชั่วโมงต่อสัปดาห์  ช่วยให้พนักงานฝ่ายจัดซื้อมีเวลาทำงานที่มีประโยชน์และให้ผลตอบทางธุรกิจสูงกว่า  นอกจากนี้การเพิ่มการจัดลำดับความสำคัญตามมูลค่าเข้าไปในกระแสงานของผู้ซื้อไม่เพียงทำให้ได้รับประโยชน์ด้านต้นทุนที่สำคัญ ขณะเดียวกันยังให้ความสนุกสนานที่คาดไม่ถึง  ด้วยการให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าคงคลัง องค์กรสามารถลดสินค้าคงคลังลงได้ถึงร้อยละ 36 ในเวลาเพียงสามเดือน

  1. อำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันทั่วทั้งองค์กรของคุณ

ท้ายที่สุดแล้ว อุตสาหกรรมการผลิตยังคงเป็นธุรกิจที่มีคนเป็นศูนย์กลาง:  คนที่กำลังผลิตสินค้าให้กับคนอื่นๆ เมื่อพูดถึงการจัดซื้อซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์กลางของห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อนอย่างมาก การทำงานร่วมกันเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเทคโนโลยีและช่องว่างของความต้องการ

เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ซื้อจะต้องสามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดกับทีมอื่นๆ ในหน่วยงาน โรงงาน และซัพพลายเออร์ของพวกเขา  มิฉะนั้นแต่ละโรงงานจะกลายเป็นไซโลที่ต่างคนต่างแยกกันทำงาน และก่อให้เกิดช่องว่างมากขึ้น

การปรับปรุงการวิเคราะห์ ความคล่องตัว และนวัตกรรม AI ในส่วนของอุคสาหกรรมการผลิตยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น และฝ่ายจัดซื้อแม้จะมีงบประมาณน้อยกว่าที่จัดสรรให้กับการจัดซื้อ แต่การเปลี่ยนแปลงในสามด้านนี้เป็นวิธีที่คุ้มค่าซึ่งที่องค์กรสามารถจัดหาอาวุธให้กับคนที่ติดอยู่กลางของช่องว่างระหว่างการผลิตและนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความไร้ประสิทธิภาพในการจัดซื้อที่เกิดขึ้นทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน