ฝ่ายจัดซื้อต้องอาศัยนวัตกรรมในยามวิกฤติ

ไม่ผิดนักถ้าจะพูดว่าโควิด-19 ทำให้ธุรกิจและเศรษฐกิจทั่วโลกตกอยู่ในภาวะชะงักงันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้ว่าเราจะได้เห็นชุมชนที่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขาในยามเผชิญกับการระบาดครั้งใหญ่เพื่อช่วยรักษาชีวิต แต่ก็ได้เห็นอุตสาหกรรมบางประเภทกำลังประสบปัญหาความต้องการสินค้าหรือบริการที่ลดลงกะทันหัน

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบแบบเดียวกัน ในด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง เราได้เห็นอุตสาหกรรมที่เผชิญปัญหาความต้องการลดลงแบบเฉียบพลันในชั่วข้ามคืน  (เช่น การบริการต้อนรับ การขนส่ง) และอีกด้านหนึ่ง เราได้เห็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการอย่างล้นหลาม และฉับพลัน (เช่น อุตสาหกรรมการผลิตชุด PPE, เวชภัณฑ์ และการแพทย์, บริการสาธารณะ) ซึ่งไม่ได้หมายความว่าธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่กึ่งกลางระหว่างอุตสาหกรรมทั้งสองด้านดังกล่าวจะต้องเปลี่ยนการดำเนินงานของพวกเขา ปรับสายการผลิต หรือรูปแบบการบริการขนานใหญ่เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป (เช่น ค้าปลีก บริการทางการเงิน)

เช่นเดียวกับความท้าทายที่สำคัญๆ ทั้งหลาย นี่เป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจที่คิดไปข้างหน้าเข้ามาไข่วคว้า และศูนย์กลางในการสร้างความสำเร็จจากวิกฤติครั้งนี้คือความสามารถขององค์กรในการส่งมอบสินค้าได้อย่างรวดเร็ว การจัดซื้อ และการจัดการห่วงโซ่อุปทานจะเป็นศูนย์กลางของเรื่องนี้ และเหนือสิ่งอื่นใดทีมงานที่ดูแลฟังก์ชั่นงานด้านนี้จำเป็นจะต้องก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ และยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ

เหตุผลที่ต้องเป็นฝ่ายจัดซื้อ

ฝ่ายจัดซื้อเป็นสะพานเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างซัพพลายเออร์บุคคลที่สามกับฝ่ายต่างๆ ของธุรกิจ เมื่อความต้องการของผู้บริโภคอยู่ในสภาวะชะงักงัน ธุรกิจก็จะเข้ามาปรึกษาหารือกับทีมจัดซื้อเกี่ยวกับแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะต้องใช้วัสดุ บริการ และแม้แต่นวัตกรรมจากบุคคลภายนอก เช่นเดียวกัน เมื่อตลาดเกิดการชะงักงัน ทีมจัดซื้อก็ต้องเผชิญกับความท้าทายในการทำให้เกิดความมั่นใจว่าอุปทานจะมีความต่อเนื่อง และความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเองมีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจเหล่านั้น ความสามารถในการจัดหาและรักษาการเชื่อมต่อกับซัพพลายเออร์เหล่านั้นให้มีความปลอดภัยได้เร็วกว่าคู่แข่งนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการแยกผู้นำออกจากผู้ตาม

รู้จักกับนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความคล่องตัวสำหรับฝ่ายจัดซื้อ

ในช่วงเวลาแห่งการสรรสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ ทีมจัดซื้อไม่จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเองทั้งหมด พวกเขาสามารถใช้เทคนิคและวิธีการเดียวกันกับที่ได้รับการทดลองและทดสอบมาแล้ว แค่เพียงแค่ทำมันให้เร็วขึ้น

* การจัดการหมวดหมู่ เมื่อธุรกิจต้องการแหล่งวัตถุดิบ หรือสินค้าอย่างรวดเร็ว วิธีที่จะสามารถตอบสนองความต้องการที่ดีที่สุด  ผู้ซื้อสามารถนำเสนอกระบวนการที่ผ่านการทดลองและทดสอบแล้ว และกรอบการทำงานที่จะทำให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจ

* มีขั้นตอนการหาแหล่งวัตถุดิบ หรือสินค้า และจัดการการใช้จ่ายของฝ่ายต่างๆ ได้อย่างไร

* ทำเองหรือซื้อ หากองค์กรไม่สามารถจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็นได้ทันท่วงที ผู้ซื้ออาจต้องประเมินว่าพวกเขาสามารถใช้ซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นเองภายในองค์กร หรือจากซัพพลายเออร์ที่ไม่ใช่เจ้าเดิมๆ อย่างเช่น มหาวิทยาลัย หรือเป็นพันธมิตรกับกับคู่แข่งโดยตรงได้หรือไม่

* บริษัทสามารถคิดถึงแหล่งวัตถุดิบ หรือสินค้าที่ต้องการซึ่งอยู่นอกเหนือจากซัพพลายเออร์รายเดิมๆ ได้อย่างไร

* การจัดการความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ (SRM) อำนวยความสะดวกในการพูดคุยกับพันธมิตรทางธุรกิจและซัพพลายเออร์บุคคลที่สามที่สนับสนุนการทำงานร่วมกัน ต้องมีการกำหนดวิธีการพูดคุยกันในเชิงสร้างสรรค์และติดตามความคืบหน้าของความสัมพันธ์

* ใครคือซัพพลายเออร์รายสำคัญของเรา จะมีวิธีเสริมสร้างความสัมพันธ์เหล่านั้นให้แข็งแกร่งขึ้นได้อย่างไร นวัตกรรมจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากพันธมิตรภายนอกได้อย่างไร

* การประเมินความเสี่ยง การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ หรือสินค้าได้อย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่มีความผันผวนจะต้องมีการวิเคราะห์และรายงานความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด และบ่อยขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าซัพพลายเออร์ที่มีความเสี่ยงใดๆ ได้รับการจัดการ การสนับสนุน หรือเปลี่ยนใหม่ก่อนที่ภาวะชะงักงันจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานขององค์กร

วิธีประเมินความเสี่ยงจากซัพพลายเออร์ทำได้อย่างไร การประเมินเหล่านั้นควรทำบ่อยแค่ไหน

ดังนั้นขอให้ฝ่ายจัดซื้อยอมรับความท้าทายโดยมีความเชื่อมั่นในวิธีการ และความสามารถของฝ่ายจัดซื้อ และแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำขององค์กรที่แท้จริงผ่านความร่วมมือในการทำงานข้ามสายงาน และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความคล่องตัว